วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

คำกล่าวทักทายของประเทศสมาชิกอาเซียน



              ๑๐  คำกล่าวทักทายในภาษาอาเซียนน่ารู้                                      ใกล้เข้ามาเเล้วสำหรับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (The Association of South East Asian Nations : ASEAN)
ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน รวม 10 ประเทศได้แก่  ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน
อาเซียน (ASEAN) หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations)

คำกล่าวทักทาย (ภาษาประเทศสมาชิกอาเซียน)
สวัสดี = Hello / Hi
ประเทศ              คำอ่านภาษาอังกฤษ         คำอ่านภาษาไทย
บรูไน                      Salamat Datang             ซาลามัต ดาตัง 
อินโดนีเซีย               Salamat Siang                ซาลามัต เซียง 
มาเลเซีย                 Salamat Datang              ซาลามัต ดาตัง 
ฟิลิปปินส์                 Kumusta                       กูมุสตา
สิงคโปร์                  Ni Hao                           หนีห่าว 
ไทย                        Sawadee                       สวัสดี 
กัมพูชา                   Shuo Sa Dai                   ซัวสเด 
ลาว                       Sabaidee                       สะบายดี 
พม่า                       Mingalar Par                  มิงกาลาบา 
เวียดนาม                 Xin Chao                       ซินจ่าว


อาหารประจำชาติอาเซียน

การรวมกลุ่มสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือประชาคมอาเซียนนอกจากจะเป็นการขยายสมาคมทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มคามเข้มแข็งให้กับทุกประเทศแล้ว ยังถือว่าเป็นโอกาสอันนี้ที่จะได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศกัน ดังนั้นเรื่องอาหารการกินจึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพราะทุกประเทศต่างอยากที่จะได้ลิ้มลองของเลื่องชื่อของประเทศภายในกลุ่มสมาชิก ในวันนี้เราจึงได้รวบรวมเอาอาหารประจำชาติของแต่ละประเทศมาฝากเพื่อน เผื่อเพื่อนๆคนไหนได้ไปเที่ยวจะได้หากินของเลื่องชื่อได้ถูก เรามาเริ่มต้นกันเลย
1.ประเทศไทย
ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong) อาหารขึ้นชื่อที่สุดของประเทศไทยของเรา ซึ่งจริงๆแล้วในประเทศไทยมีอาหารรสชาติเยี่ยมยอดและขึ้นชื่ออยู่มากมาย แต่ถ้าจะให้เลือกอาหารที่ขึ้นชื่อและนักท่องเที่ยวต่างประเทศชอบกินกันมากที่สุด คงหนีไม่พ้นต้มยำกุ้ง ด้วยรสชาติที่เผ็ด เปรี้ยว และจี๊ดจ๊าด รวมกับกุ้งแม่น้ำและเครื่องแกงทั้ง ขา ตะไคร้ ใบมะกรูด ทำให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนเมืองไทยต้องได้ลิ้มลองกันทุกคน และเมื่อได้ลิ้มลองทุกคนก็ต่างพากันติดใจและพร้อมที่กลับมาลิ้มลองอีกครั้ง
ที่มาของภาพ : www.parttime-today.com

2.ประเทศกัมพูชา
อาม็อก (Amok) อาหารยอดนิยมของประเทศกัมพูชา ที่ไม่ว่าใครจะไปเยือนต้องได้ลิ้มลอง อาม็อกดูไปดูมาก็มีหน้าตาคล้ายๆกับห่อหมกบ้านเรา เป็นอาหารที่ทำมาจากเนื้อปลาสดๆที่นำมาลวกกับเครื่องแกงและกะทิ แล้วจึงนำไปนึงให้สุก ซึ่งโดยปกติแล้วปลาจะเป็นอาหารหลักของชาวกัมพูชาเพราะหาได้ง่ายตามแม่น้ำลำคลองที่ยังคงอุดมสมบูรณ์อยู่ แต่ในบางครั้งก็อาจใช้ไก่แทนได้ในบางที่



ที่มาของภาพ : articles.spokedark.tv

3. ประเทศบรูไน
อัมบูยัต (Ambuyat) เป็นอาหารที่พลาดไม่ได้เมื่อเดินไปเยือน เป็นอาหารที่ทำจากแป้งสาคู มีลักษณะคล้ายๆข้าวต้มหรืโจ๊ก ตัวแป้งจะไม่มีรสชาติจึงต้องทานคู่กับซอสผลไม้ และต้องมีเครื่องเคียงตามชอบ เช่น ผักสด เนื้อย่าง เนื้อทอด ปลาย่าง และที่สำคัญต้องทานเวลาร้อนๆเท่านั้นจึงจะอร่อยและได้รสชาติที่แท้จริง

ที่มาของภาพ : itchyfeetmd.com

 4. ประเทศพม่า
หล่าเพ็ด ( Lahpet ) อาหารเพื่อสุขภาพที่พลาดไม่ได้ของประเทศพม่า มีลักษณะคล้ายๆกับเมี่ยงคำของประเทศไทย เป็นอาหารที่ทำจากใบชาด้วยการนำมาหมัก ทานคู่กับกระเทียมเจียว ถั่วชนิดต่างๆ กุ้งแห้ง งา มะพร้าวคั่ว ซึ่งหล่าเห็ดจะเป็นอาหารที่สำคัญในโอกาสพิเศษหรือเทศกาลสำคัญของประเทศพม่า ถ้าขาดไปถือว่าขาดความสมบูรณ์แบบไปเลยก็ว่าได้


ที่มาของภาพ : www.bovorn.com

5. ประเทศฟิลิปปินส์
อโดโบ้ (Adobo) อาหารยอดนิยมที่ต้องลิ้มลองของประเทศฟิลิปปินส์ อโดโบ้ทำจากเนื้อหมู หรือเนื้อไก่ โดยผ่านการหมักและปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชู ชีอิ๊วขาว ใบกระวาน กระเทียม พริกไทยดำ จากนั้นนำไปอบหรือทอด ทานกับข้าวสวยร้อนๆ ถือว่าเป็นอาหารที่น่าสนใจมากถ้าได้มีโอกาสไมปเยือน
  

ที่มาของภาพ : thaitoasean.blogspot.com

6. ประเทศสิงคโปร์
ลักซา (Laksa) อาหารที่ได้รับความนิยมที่สุดในสิงคโปร์ ซึ่งลักซาจะมีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวต้มยำมี 2 รูปแบบคือ แบบไม่ใส่กะทิ และแบบใส่กะทิ ซึ่งแบบใส่กะทิจะนิยมมากกว่า เพราะรสชาติจะเข้มข้นแบบแกงกะทิบ้านเรา ดูไปดูมาก็อาจจะคล้ายๆกับข้าวซอยทางภาคเหนือ แต่ลักซาจะมีส่วนประกอบเป็น กุ้ง หอยแครง จึงเหมาะกับคนทีชอบทานอาหารทะเล
ที่มาของภาพ : foodofasean.blogspot.com

7. ประเทศอินโดนีเซีย
กาโด กาโด (Gado Gado) อาหารเพื่อสุขภาพยอดนิยมของอินโดนี้เซีย เป็นอาหารที่ประกอบไปด้วยผักและธัญพืชนานาชนิด ทั้งถั่วชนิดต่างๆ มันฝรั่ง แครอท และยังมีเต้าหู้และไข่ต้มสุกอีกด้วย โดยกาโด กาโดจะรับประทานคู่กับซอสถั่วที่มีลักษณะคล้ายๆกับซอสหมูสะเต๊ะ ซึ่งในซอสจะมีส่วนประกอบของสมุนไพรอยู่ด้วยทำให้ไม่เลี่ยนกะทิเวลารับประทาน


                                           ที่มาของภาพ : chumchonsahapattana.net

 8. ประเทศลาว
สลัดหลวงพระบาง (Luang Prabang Salad) สลัดสุดอร่อยของประเทศลาว ที่มีรสชาติลงตัวสามารถรับประทานได้ทั้งชาวตะวันตก และตะวันออก ซึ่งส่วนประกอบก็จะคล้ายกับสลัดถั่วไปคือ แตงกวา มะเขือเทศ ผักกาดหอม แต่จะพิเศษตรงที่จะเพิ่มผักน้ำ ซึ่งเป็นผักพื้นบ้านที่มีเฉพาะในประเทศลาวเท่านั้น ทานคู่กับไข่ต้มและหมูสับลวกสุก ราดด้วยสลัดน้ำใสพร้อมโรยหน้าด้วยกระเทียมเจียวและถั่วลิสงคั่ว
ที่มาของภาพ : mmm-yoso.typepad.com

9. ประเทศมาเลเซีย
นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) อาหารขึ้นชื่อของประเทศมาเลเซีย เป็นอาหารที่ประกอบไปด้วยข้าวที่หุงกับกะทิและใบเตย ทานพร้อมเครื่องเคียง 4 อย่าง คือ แตงกวาหั่น ถั่วอบ ไข่ต้มสุก และปลากะตักทอดกรอบ เมื่อก่อนอาหารชนิดนี้นิยมทานเป็นอาหารเช้า แต่ในปัจจุบันเป็นอาหารที่ทานกันในทุกมื้อและสามารถหาทานได้ง่าย รวมทั้งภาคต้ของประเทศไทยด้วย

                                                ที่มาของภาพ : articles.spokedark.tv

 10. ประเทศเวียดนาม
เปาะเปี๊ยะเวียดนาม (Vietnamese Spring Rolls) อาหารที่ขึ้นชื่อมากเพราะในประเทศไทยเองก็มีขายกันอย่างแพร่หลาย ความอร่อยของเปาะเปี๊ยะเวียดนามจะอยู่ที่แป้งที่ทำมาจากข้าวเจ้า แล้วนำมาห่อกับเนื้อสัตว์ซึ่งอาจจะเป็นไก่ หมู กุ้ง หมูยอ หรือจะนำมารวมกันก็ได้ บวกกับผักสมุนไพรชนิดต่างๆ เช่น ผักกาดหอม สะระแหน่ ทานคู่กับน้ำจิ้มหวานโดยในน้ำจิ้มสามารถเพิ่มแครอทซอย ไชเท้าซอย และถั่วคั่วได้ตามต้องการ




                                             ที่มาของภาพ : www.aecnews.co.th

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

การแต่งกายประจำชาติ ของประเทศสมาชิกอาเซียน

1. ชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย
           สำหรับชุดประจำชาติมาเลเซียของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาว และกระโปรงยาว

บาจู มลายู - ประเทศมาเลเซีย
บาจูกุรุง - ประเทศมาเลเซีย

2. ชุดประจำชาติของประเทศเวียดนาม
        อ่าวหญ่าย (Ao dai) เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัวสวมทับกางเกงขายาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวมใส่ในงานแต่งงานและพิธีการสำคัญของประเทศ มีลักษณะคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงเวียดนาม ส่วนผู้ชายเวียดนามจะสวมใส่ชุดอ่าวหญ่ายในพิธีแต่งงาน หรือพิธีศพ


อ่าวหญ่าย - ประเทศเวียดนาม

3. ชุดประจำชาติของประเทศพม่า
          ชุดประจำชาติของชาวพม่าเรียกว่า ลองยี (Longyi) เป็นผ้าโสร่งที่นุ่งทั้งผู้ชายและผู้หญิง ในวาระพิเศษต่าง ๆ ผู้ชายจะใส่เสื้อเชิ้ตคอปกจีนแมนดารินและเสื้อคลุมไม่มีปก บางครั้งจะใส่ผ้าโพกศีรษะที่เรียกว่า กอง บอง (Guang Baung) ด้วย ส่วนผู้หญิงพม่าจะใส่เสื้อติดกระดุมหน้าเรียกว่า ยินซี (Yinzi) หรือเสื้อติดกระดุมข้างเรียกว่า ยินบอน (Yinbon) และใส่ผ้าคลุมไหล่ทับ







ลองยี - ปรเทศพม่า

4. ชุดประจำชาติของประเทศบรูไน
            ชุดประจำชาติของบรูไนคล้ายกับชุดประจำชาติของผู้ชายประเทศมาเลเซีย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) แต่ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใส โดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง เป็นการสะท้อนวัฒนธรรมสังคมแบบอนุรักษ์นิยม เพราะบรูไนเป็นประเทศมุสสิม จึงต้องแต่งกายมิดชิดและสุภาพเรียบร้อย

บาจู มลายู และบาจูกุรุง - ประเทศบรูไน


5. ชุดประจำชาติของประเทศลาว
           ผู้หญิงลาวนุ่งผ้าซิ่น และใส่เสื้อแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากล หรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ด คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย



ประเทศลาว

6. ชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย
          เกบาย่า (Kebaya) เป็นชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาว ผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติก ส่วนการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาวหรือเตลุก เบสคาพ (Teluk Beskap) ซึ่งเป็นการแต่งกายแบบผสมผสานระหว่างเสื้อคลุมสั้นแบบชวาและโสร่ง และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด



 เกบาย่า - ประเทศอินโดนิเซีย
เตลุก เบสคาพ - ประเทศอินโดนิเซีย

7. ชุดประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์
           ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อที่เรียกว่า บารอง ตากาล็อก (barong Tagalog) ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าใยสัปปะรด มีบ่า คอตั้ง แขนยาว ที่ปลายแขนเสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลาย ส่วนผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาว ใส่เสื้อสีครีมแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก (balintawak)




บารอง ตากาล็อก - ประเทศฟิลิปินส์
บาลินตาวัก - ประเทศฟิลิปินส์

8. ชุดประจำชาติของประเทศไทย

          สำหรับชุดประจำชาติอย่างเป็นทางการของไทย รู้จักกันในนามว่า "ชุดไทยพระราชนิยม"โดยชุดประจำชาติสำหรับสุภาพบุรุษ จะเรียกว่า "เสื้อพระราชทาน"

          สำหรับสุภาพสตรีจะเป็นชุดไทยที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควร ความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวม ใช้เครื่องประดับได้งดงามสมโอกาสในเวลาค่ำคืน

โดยชุดไทยพระราชนิยม แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้

1. ชุดไทยเรือนต้น

2. ชุดไทยจิตรลดา

3. ชุดไทยอมรินทร์

4. ชุดไทยบรมพิมาน

5. ชุดไทยจักรี

6. ชุดไทยจักรพรรดิ

7. ชุดไทยดุสิต

8. ชุดไทยศิวาลัย


9. ชุดประจำชาติของประเทศกัมพูชา
           ชุดประจำชาติของกัมพูชาคือ ซัมปอต (Sampot) หรือผ้านุ่งกัมพูชา ทอด้วยมือ มีทั้งแบบหลวมและแบบพอดี คาดทับเสื้อบริเวณเอว ผ้าที่ใช้มักทำจากไหมหรือฝ้าย หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ซัมปอตสำหรับผู้หญิงมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทย ทั้งนี้ ซัมปอดมีหลายแบบซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนชั้นทางสังคมของชาวกัมพูชา ถ้าใช้ในชีวิตประจำวันจะใช้วัสดุราคาไม่สูง ซึ่งจะส่งมาจากประเทศญี่ปุ่น นิยมทำลวดลายตามขวาง ถ้าเป็นชนิดหรูหราจะทอด้ายเงินและด้ายทอง




ซัมปอต - ประเทศกัมพูชา

10. ชุดประจำชาติประเทศสิงคโปร์
             สิงคโปร์ไม่มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เนื่องจากประเทศสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 4 เชื้อชาติหลัก ๆ ได้แก่ จีน มาเลย์ อินเดีย และชาวยุโรป ซึ่งแต่ละเชื้อชาติก็มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เช่น ผู้หญิงมลายูในสิงคโปร์ จะใส่ชุดเกบาย่า (Kebaya) ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ หากเป็นชาวจีน ก็จะสวมเสื้อแขนยาว คอจีน เสื้อผ้าหน้าซ่อนกระดุม สวมกางเกงขายาว โดยเสื้อจะใช้ผ้าสีเรียบหรือผ้าแพรจีนก็ได้

ชุดเกบาย่า - ประเทศสิงคโปร์

 รู้จักกันไปแล้วสำหรับชุดประจำชาติสวย ๆ ของชาติสมาชิกอาเซียน ที่เราอาจได้เห็นกันอยู่บ้างจากบรรดาผู้นำชาติอาเซียนที่มาประชุมในบ้านเรา หรือในประเทศอื่น ๆ ซึ่งต้องบอกเลยว่า แต่ละชาติต่างก็มีเครื่องแต่งกายที่สวยงาม และสะท้อนอัตลักษณ์ของแต่ละชาติสมาชิกสมาคมอาเซียนได้เป็นอย่างดี

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก   

ประเทศสมาชิกอาเซียน

            
     ในสภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของทุนนิยม ประเทศต่างๆ ไม่สามารถที่จะอยู่ได้โดยปราศจากสังคมโลก เนื่องจากประเทศต่างๆ นั้นมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจในประเทศของตัวก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเมื่อทำการรวมตัวกันแต่ละภูมิภาคของโลกแล้ว จะทำให้อำนาจในการต่อรองทางด้านเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นอีกทั้งยังเพิ่มขีดความสามารถที่ใช้ในการแข่งขันกันระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้ผลประโยชน์และการพัฒนาประเทศไปพร้อมกัน เพราะฉะนั้น ประชาคมอาเซียน หรือ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้ทำข้อตกลงกันโดยการรวมตัวของประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันหรือใกล้เคียงให้เป็นประชาคมเดียวกัน หรือที่เรียกว่า ประชาคมอาเซียนให้เสร็จภายในปี 2015 หรือ พ.ศ. 2558 วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ก่อนก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียน ว่ามีประเทศอะไรบ้าง และความเป็นมาของการมารวมตัวกันจนเป็นกลุ่มประเทศอาเซียทั้ง 10 ในปัจจุบันนี้ โดยกลุ่มประเทศอาเซียนมีการก่อตั้งครั้งแรก วันที่ 8 ส.ค. 2510
         โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538 ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542 ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่

1.บรูไน
2.ไทย
3. กัมพูชา
4. สิงคโปร์
5.อินโดนีเซีย
6.เวียดนาม
7.ลาว
8.พม่า
9.ฟิลิปปินส์
10.มาเลเซีย


ข้อมูลพื้นฐาน กศน.ตำบลแม่ฮี้

            กศน. ตำบลแม่ฮี้ อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปาย   สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปี พ.ศ. 2548 ในสมัยก่อนยังไม่ได้มีศูนย์การเรียนเป็นหลักแหล่ง การจัดการศึกษาจึงมีความลำบาพอสมควร การจัดการเรียนการสอนให้บริการด้านการศึกษานอกโรงเรียน ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย  แต่ด้วยความต้องการทางการศึกษาของประชาชนมีมากขึ้น และเพื่อยกระดับทางการศึกษาแก่ประชาชนในพื้นที่ ในปี  พ.ศ.2553 ได้รับความอนุเคราะห์ จากองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ฮี้ ให้ใช้สถานที่ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนตำบลแม่ฮี้(บ้านแม่ปิง) หมู่ 6 ตำบลแม่ฮี้ และรัฐบาลมีนโยบายในการดำเนินการจัดตั้ง กศน.ตำบล  เพื่อเป็นกลไกที่มีศักยภาพในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง  (พ.ศ.2552-2561) ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลแม่ฮี้ จึงเปลี่ยนสถานะเป็น       กศน.ตำบล จึงได้ดำเนินการจัดพิธีเปิดป้าย กศน.ตำบลแม่ฮี้  ซึ่งมีนางศุภลักษณ์ ใจงาม ตำแหน่ง                ครูอาสาสมัคร เป็นผู้รับผิดชอบดูแล กศน.ตำบลแม่ฮี้ เนื่องจาก กศน.ตำบลแม่ฮี้ ยังไม่ได้รับจัดสรรตำแหน่งครู กศน.ตำบลแม่ฮี้ ต่อมาในเดือน กรกฏาคม 2557 กศน.ตำบลแม่ฮี้ได้รับการจัดสรรตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลแม่ฮี้ โดยมีนางสาวกนกนุช ธยาน์ เป็นครู กศน.ตำบลแม่ฮี้ และได้ขอย้ายสถานที่จัดตั้ง กศน.ตำบลแม่ฮี้ มาอยู่ที่ บ้านทรายขาว หมู่ 2 ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย เพื่อให้ กศน.ตำบลแม่ฮี้ มีอาคารที่เป็นเอกเทศแยกจากศูนย์ฝึกอาชีพตำบลแม่ฮี้
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่  ตั้งอยู่ในหมู่บ้านทรายขาว ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ฮี้ มีพื้นที่รับผิดชอบ 6  หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านแม่เย็น  หมู่ที่ 2 บ้านทรายขาว หมู่ที่ 3 บ้านท่าปาย หมู่ที่ 4 บ้านแม่ปิง หมู่ที่ 5 บ้านแม่ฮี้  หมู่ที่ 6 บ้านห้วยแก้ว นอกจากนี้ยังมีหย่อมบ้านบริวารบ้านหลัก จำนวน 4 หย่อมบ้าน ได้แก่ หย่อมบ้านหัวแม่เย็น  ซึ่งเป็นหย่อมบ้านบริวารของบ้านแม่เย็น หมู่ที่ 1 หย่อมบ้านโป่งร้อน ซึ่งเป็นหย่อมบ้านบริวารของบ้านทรายขาว หมู่ที่ 2 หย่อมบ้านห้วยหวาย , หย่อมบ้านแม่ยะน้อยซึ่งเป็นหย่อมบ้านบริวารของบ้านแม่ปิง หมู่ที่ 4


ข้อมูลผู้จัดทำ

ข้อมูลผู้จัดทำ Blog


       ประวัติส่วนตัว                
ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นางสาวกนกนุช    ธยาน์    สัญชาติ ไทย  เชื้อชาติ ไทย
ศาสนา คริสต์   กรุ๊ปเลือด โอ   เกิดวันศุกร์   ที่ ๑๒  เดือน  เมษายน   พ..   ๒๕๒๘

ภูมิลำเนาเดิม
บ้านเลขที่  ๑๓๔ / ๔  หมู่ที่  ๓  ตำบลแม่ยวม   อำเภอแม่สะเรียง    จังหวัดแม่ฮ่องสอน                       รหัสไปรษณีย์  ๕๘๑๑๐
ชื่อบิดา     นายโปะโละ     ผู้รักพี่น้อง        อาชีพ     ทำนา
ชื่อมารดา     นางแคะโชย  ผู้รักพี่น้อง       อาชีพ     ทำนา
มีพี่น้องร่วมสายโลหิต  ๒   คน  ชาย ๑ คน หญิง ๑ คน เป็นคนที่ ๑

ที่อยู่ปัจจุบัน
  ๑๗๔/๔  หมู่ที่ ๔  ตำบลปางหมู  อำเภอเมือง  จังหวัดแม่ฮ่องสอน ๕๘๐๐๐ โทรศัพท์มือถือ ๐๘๙-๔๓๒๗-๓๔๒,0๙๗-๓๕๗๘๖๒๓
อีเมลล์ arm_taya@yahoo.com                            



facebook : กศน.ตำบลแม่ฮี้


ติดต่อเรา



กศน.ตำบลแม่ฮี้ 
ที่ตั้ง  :  อาคารอเนกประสงค์บ้านทรายขาว  หมู่ 2  บ้านทรายขาว  ตำบลแม่ฮี้  อำเภอปาย                   จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เบอร์โทรติดต่อ : 0973578623
ครูประจำ กศน.ตำบลแม่ฮี้  นางสาวกนกนุช  ธยาน์